Delfi n3Xt ได้พัฒนามากจาก Delfi C3 เป็นดาวเทียม CubeSat แบบ 3 U มีระบบ Micro Propulsion System ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนขนาดเล็ก มีโซล่าเซลล์แบบซิลิคอนและและได้พัฒนาระบบวิทยุสื่อสารใหม่ โดยมีระบบเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก อีกทั้งมีระบบควบคุมแบบแอคทีฟ
โครงการ Delfi‑n3Xt เริ่มต้นขึ้นในปี 2550 โดยได้นำส่งดาวเทียม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ณ ประเทศรัสเซีย ดาวเทียมได้ปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นสัญญาณก็ขาดหายไป
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/Delfi‑n3Xt-1024x694.png)
ภาพจำลองดาวเทียม Delfi‑n3Xt ขณะอยู่ในอวกาศ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/Delfi‑n3Xt2-1024x771.png)
ภาพขณะประกอบดาวเทียม Delfi‑n3Xt ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft
ภาพรวมนี้จะแสดงลักษณะเด่นทางเทคนิคของ Delfi-n3Xt Nanosatellite
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/1.png)
ภารกิจทั่วไป
เพื่อเรียนรู้การเคลื่อนที่ ในวงโคจรของ Delfi-n3Xt Nanosatellite
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/2.png)
ระบบวิทยุสื่อสาร
ระบบวิทยุได้รับการพัฒนาโดยใช้ Downlink ในย่านความถี่ VHF และ Uplink ในย่านความถี่ UHF โดยDownlink มีอัตราส่งข้อมูลสูงในการทดลองในช่วง ย่านความถี่ S-Band
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/3.png)
ทำการทดลองกับโซล่าเซลล์ แบบการเรียงตัว อย่างไม่เป็นระบบในโครงสร้างของสาร ทำให้มีรูปร่างที่ไม่แน่นอนขนาด 14 เซลล์ เพื่อยืนยันผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/4.png)
การทดลองเทคโนโลยีจาก The Netherlands Organization for Applied Scientific Research (TNO) ระบบนี้ใช้เครื่องกำเนิดก๊าซเย็น
ซึ่งไม่มีแรงดันเมื่อระบบทำงาน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/5.png)
ได้ร่วมกับบริษัท SystematIC BV เพื่อทดลองพลังงานไฟฟ้าที่ตอบสนองได้ดีกับระบบย่อยและเพื่อสร้างพลังงานอย่างต่อเนื่อง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/6.png)
ทดสอบระบบควบคุมท่าทางการบิน
การทดสอบระบบควบคุมการบินแบบสามแกนและการควบคุมระบบย่อย รวมถึงการสั่งการReaction Wheel ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษ อีกทั้งมีเซ็นเซอร์แสงอาทิตย์ และระบบสร้างสนามแม่เหล็ก
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/7.png)
Command & Data Handling
ทดสอบระบบการจัดการคำสั่งและข้อมูล ด้วย On Board Computer
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/8.png)
ระบบควบคุมอุณหภูมิ
ประกอบด้วย Vacuum Deposited Aluminum (VDA) และ Kapton Tapes หรือเทปกันความร้อน ทำให้การควบคุมอุณหภูมิเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นระบบแบบ Passive
ที่มา : https://www.tudelft.nl/lr/delfi-space/delfi-n3xt
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกทินวัฒน์ เมตตะธำรงค์