![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/Solar-Orbiter-1024x577.png)
อวกาศยาน Solar Orbiter และ BepiColombo จะสร้างประวัติศาสตร์ในอวกาศด้วยการบินผ่านดาวศุกร์ในวันที่ 9 และ 10 สิงหาคม 2564 โดยทั้งสองลำห่างกันเพียง 33 ชั่วโมง
อวกาศยานทั้งสองลำอาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์ช่วยให้สูญเสียพลังงานในวงโคจรเล็กน้อยเพื่อปรับวงโคจรให้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขั้น ซึ่งการบินผ่านของอวกาศยานทั้งสองลำจากต่างสถานที่ในเวลาเดียวกันเป็นโอกาสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Solar Orbiter เป็นความร่วมมือระหว่าง ESA และ NASA บินผ่านดาวศุกร์ในวันที่ 9 สิงหาคม 2564โดยเข้าใกล้ที่สุด 7,995 กม. เวลา 04:42 UTC ซึ่งตลอดภารกิจจะอาศัยแรงโน้มถ่วงเกิดขึ้นซ้ำๆเพื่อช่วยให้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น และเปลี่ยนความเอียงของวงโคจรเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งระนาบสุริยวิถี (Ecliptic plane) ให้ได้มุมมองของดวงอาทิตย์ที่ดีที่สุด
BepiColombo เป็นความร่วมมือระหว่าง ESA และ JAXA บินผ่านดาวศกร์ (Venus) เวลา 13:48 UTC ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ที่ระดับความสูงเพียง 550 กม. BepiColombo กำลังเดินทางไปยังดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ โดยต้องบินผ่านโลก ดาวศุกร์ และดาวพุธ ร่วมกับระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของอวกาศยาน เพื่อช่วยนำทางเข้าสู่วงโคจรของดาวพุธ และต้านแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดวงอาทิตย์
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/esa-1024x582.jpg)
กล้องตรวจสอบ 3 ตัว (M-CAM) ของอวกาศยาน BepiColombo ให้ภาพขาวดำความละเอียด 1024 x 1024 พิกเซลโดย 2 ใน 3 ตัวจะถ่ายภาพในช่วงเวลาที่เข้าใกล้ที่สุด ซึ่งภาพดาวศุกร์จะครอบคลุมภาพเกือบทั้งหมดผ่านแผงโซลาร์เซลล์ และเสาอากาศเล็กน้อย แต่เมื่ออวกาศยานเปลี่ยนทิศทาง จะมองเห็นผ่านด้านหลังของโครงสร้างอวกาศยาน ถึงอย่างไรก็ตามอวกาศยานทั้ง 2 ลำจะอยู่ห่างกันใกล้ที่สุดกว่า 575,000 กิโลเมตรแต่ก็ไม่สามารถถ่ายภาพกันและกันได้
ภาพจะถูกดาวน์โหลดเป็นชุดๆ ทีละภาพ โดยภาพแรกจะพร้อมให้ดาวน์โหลดในตอนเย็นของวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และภาพส่วนใหญ่ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564
ที่มา : https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/ESA_gets_ready_for_double_Venus_flyby
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง