![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/USSF.png)
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในโลก หันมาให้ความสำคัญกับภัยคุกคามทางอวกาศมากขึ้น ด้วยแนวโน้มของจำนวนที่เพิ่มขึ้นของดาวเทียมที่ถูกนำส่งไปยังอวกาศ การพัฒนาขีดความสามารถของดาวเทียมให้สามารถโจมตีดาวเทียมดวงอื่น ๆ ที่อาจถูกนำส่งขึ้นสู่อวกาศอย่างไม่เปิดเผย อวกาศที่ไม่สามารถมีประเทศไหนครอบครองได้ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจไม่ใช่แบบนั้น ทำให้หลาย ๆ ชาติ เกิดข้อกังวลที่ประเทศมหาอำนาจด้านอวกาศหรือประเทศอื่น ๆ จะสร้างความได้เปรียบทางทหารในมิติอวกาศได้ เราจึงได้เห็นการจัดตั้งองค์กรทางทหารขึ้นมาเพื่อตอบรับกับภัยคุกคามในมิติอวกาศที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ด้วยปัจจัยของระบบปกครองประเทศ การเมือง และการทหาร รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ จึงทำรูปแบบการก่อตั้งองค์ทหารด้านอวกาศของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่ การจัดตั้งแบบแยกเป็นระดับกองทัพ การจัดตั้งแบบเป็นหนึ่งสาขาของกองทัพ การจัดตั้งแบบองค์กรตั้งร่วมภายในประเทศหรือเป็นศูนย์บัญชาการระหว่างประเทศ และการจัดตั้งแบบแยกเป็นหน่วยขึ้นตรงขององค์กร
รูปแบบที่ 1 การจัดตั้งแบบแยกเป็นระดับกองทัพ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงสหรัฐอเมริกาเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่มีการจัดตั้งเป็นระดับกองทัพอวกาศ กองทัพอวกาศสหรัฐ หรือ US Space Force (USSF) ก่อตั้งเมื่อ 20 ธ.ค.63 มีระดับชั้นเทียบเท่ากับกองทัพบก เรือ อากาศ และอื่น ๆ ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีภารกิจจัดดำเนินการ ฝึกอบรม รวบรวมกองกำลังเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากอวกาศให้กับสหรัฐ และพันธมิตร
รูปแบบที่ 2 การจัดตั้งแบบเป็นหนึ่งสาขาของกองทัพ เป็นการจัดตั้งโดยภารกิจด้านอวกาศรวมอยู่ในภารกิจของกองทัพ องค์กรในรูปแบบนี้เป็นการรวมจากภารกิจที่สามารถสนับสนุนภารกิจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น กองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ หรือ People’s Liberation Army Strategic Support Force เป็น 1 ใน 5 ของกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นกองทัพรวมภารกิจด้าน ไซเบอร์ (Cyber) อวกาศ (Space) และ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ (EW) ไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ Russian Space Forces เป็นสาขาหนึ่งของ Russian Aerospace Force ทีมีภารกิจเพื่อแจ้งเตือนด้านการบินและอวกาศ อำนาจอธิบไตยในอากาศและอวกาศ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปกป้องประเทศรัสเซีย
รูปแบบที่ 3 การจัดตั้งแบบองค์กรตั้งร่วมภายในประเทศหรือเป็นศูนย์บัญชาการร่วมระหว่างประเทศ เป็นการองค์กรตั้งรวมศูนย์บัญชาการระหว่างองค์กรในประเทศหรือระหว่างประเทศ เช่น Defence Space Agency ของประเทศอินเดีย เป็นองค์กรรวมศูนย์จากกองทัพทั้งสามของประเทศอินเดีย โดยใช้กำลังพลจากทั้งสามเหล่าทัพทำงานร่วมกัน มีองค์กรมีภารกิจปฏิบัติการสงครามอวกาศและการข่าวกรองจากดาวเทียมของ ในขณะที่องค์กรแบบเป็นศูนย์บัญชาการร่วมระหว่างประเทศ เช่น Allied Air Command (AIRCOM) เป็นศูนย์บัญชาการของทัพอากาศและอวกาศของประเทศสมาชิกของ NATO
รูปแบบที่ 4 รูปแบบสุดท้ายเป็นการจัดตั้งแบบแยกเป็นหน่วยขึ้นตรงขององค์กร ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนแยกซึ่งอยู่ภายใต้องค์กรทหารระดับกองทัพ ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงใหม่ของกองทัพอากาศ มีภารกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางอวกาศของกองทัพอากาศ
ในขณะที่หลายประเทศต่างให้คำมั่นว่าจะใช้อวกาศเพื่อสันติภาพก็ตามนั้น ในความเป็นจริงอวกาศถูกใช้เป็นช่องทางสนับสนุนในการใช้อาวุธโจมตีข้ามทวีป การลาดตระเวนสืบข้อมูลทำการข่าว จุดประสงค์จัดตั้งองค์กรทางทหารด้านอวกาศขึ้นในแต่ละประเทศนั้น อาจไม่ใช่การตั้งเพื่อพร้อมทำการรบ แต่หากการแสดงออกถึงความศักยภาพในการรับมือและพร้อมตอบโต้กลับทันทีที่มีการโจมตีนั้น ลดโอกาสไม่ให้ประเทศอื่น ๆ เข้ามาชิงความได้เปรียบทางทหารได้โดยง่าย
เรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน