![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/Starship.jpg)
บริษัท SpaceX ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาจรวด Starship ซึ่งเป็นจรวดเพื่อใช้ในการขนส่งที่มีขนาดใหญ่มาก (Super Heavy Vehicle) เพื่อให้สามารถส่งขึ้นสู่ชั้นวงโคจรในอวกาศได้ ทั้งที่ยังคงประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่บริษัทยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตลอดจนยังไม่มีกำหนดการจากหน่วยงานที่ตรวจสอบในการที่จะอนุมัติให้ผ่านมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด โดยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัท SpaceX ได้มีความก้าวหน้าในการทดสอบจรวด ณ Boca Chica ซึ่งเป็นฐานทดสอบจรวดของบริษัทฯ ในมลรัฐ Texas เพื่อให้สามารถพัฒนาเครื่องยนต์ของจรวดที่มีขนาดใหญ่มาก (Super Heavy Booster) และจรวดส่วนท่อนบนสำหรับการทดสอบจรวดต้นแบบของจรวด Starship
บริษัท SpaceX ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาจรวด Starship ซึ่งเป็นจรวดเพื่อใช้ในการขนส่งที่มีขนาดใหญ่มาก (Super Heavy Vehicle) เพื่อให้สามารถส่งขึ้นสู่ชั้นวงโคจรในอวกาศได้ ทั้งที่ยังคงประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่บริษัทยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตลอดจนยังไม่มีกำหนดการจากหน่วยงานที่ตรวจสอบในการที่จะอนุมัติให้ผ่านมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด โดยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัท SpaceX ได้มีความก้าวหน้าในการทดสอบจรวด ณ Boca Chica ซึ่งเป็นฐานทดสอบจรวดของบริษัทฯ ในมลรัฐ Texas เพื่อให้สามารถพัฒนาเครื่องยนต์ของจรวดที่มีขนาดใหญ่มาก (Super Heavy Booster) และจรวดส่วนท่อนบนสำหรับการทดสอบจรวดต้นแบบของจรวด Starship
ในการดำเนินการดังกล่าว บริษัทฯ ได้ทำการโยกย้ายพนักงานหลายร้อยคนจากส่วนอื่น ๆ ของบริษัทฯ มาประจำการที่ Boca Chica เพื่อช่วยในการผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจรวด โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญของจรวด เช่น เครื่องยนต์ Raptor จำนวนถึง 29 เครื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนจรวดที่มีขนาดใหญ่มากดังกล่าว ซึ่งตามกำหนดการจะมีการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนดังกล่าวไปยังฐานปล่อยจรวดในวันที่ ๓ ส.ค.๖๔ โดยที่บริษัทยังได้ติดตั้งเครื่องยนต์ Raptor จำนวน ๖ เครื่องในจรวดส่วนบนของ Starship หรือที่เรียกว่า Ship 20
จากประมาณการพบว่า อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยหลายสัปดาห์ ถึงหลายเดือนในการพัฒนาจรวด Starship เพื่อให้มีความพร้อมในการส่งขึ้นไปสู่อวกาศ ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบความพร้อม การทดสอบอัคคีภัย และการทดสอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริษัท SpaceX ยังไม่ได้ประกาศกำหนดการที่จะส่งอย่างชัดเจน แม้ว่าจะได้มีการจดทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งและการควบคุมด้านความถี่ในการสื่อสารของสหรัฐฯ (Federal Communications Commission : FCC) เรียบร้อยแล้วก็ตาม โดยจากการจดทะเบียนดังกล่าว บริษัทฯ มีกำหนดที่จะส่งจรวด Starship ขึ้นไปภายในช่วงเดือน พ.ค.๖๔ โดยที่บริษัทได้ประมาณการว่า อาจจะสามารถส่งได้จริงระหว่างห้วงเดือน มิ.ย. – ธ.ค.๖๔ แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งตามแผน จรวด Starship จะถูกส่งโดยใช้เครื่องยนต์ท่อนแรกซึ่งใช้เวลาในการจุดเชื้อเพลิง ๑๖๙ วินาที ก่อนที่จะมีการแยกตัวของจรวดท่อนบน ซึ่งหลังจากนั้นจรวดท่อนแรกจะถูกบังคับให้กลับมาลงจอด ณ บริเวณอ่าว Mexico ซึ่งอยู่ห่างจาก Boca Chica ประมาณ ๓๒ กม. และจรวดท่อนที่ ๒ จะขับเคลื่อนโดยเรื่องยนต์และเชื้อเพลิงที่มีไปสู่ชั้นวงโคจรในอวกาศ และจะโคจรรอบโลกน้อยกว่า ๑ รอบและจะถูกบังคับให้ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศและสู่มหาสมุทร Pacific บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ ๑๐๐ กม.ห่างจากเกาะ Kauai ของมลรัฐ Hawaii
ที่มา: https://spacenews.com/spacex-surges-starship-work-despite-faa-environmental-review-uncertainty/
น.อ.เพชรเดช เพชรช่วย ผู้เรียบเรียง