อวกาศยาน In-Orbit-Now Satellite Carrier Vehicle (ION – SCV) Dauntless David ที่มีชื่อว่า SCV003 ซึ่งได้รับการนำส่งโดยจรวด Falcon-9 ของบริษัท SpaceX ณ ท่าอวกาศยาน SLC-40 Cape Canaveral Space Force Station มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 มิ.ย.64 เวลา 1931 UTC ได้ทำการแยกตัวออกจากจรวดนำส่งด้วยความเรียบร้อยในอีก 1 ชั่วโมงหลังการปล่อยจรวด (เวลา 2031 UTC) เพื่อปฏิบัติภารกิจ Wild Ride ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 3 ของอวกาศยานแบบ ION – SCV โดยมีการปฏิบัติการแบ่งเป็นทั้งหมด 4 Phase โดยเริ่มจาก Phase 1 Satellite Deployment หรือ การปล่อยดาวเทียมขนาด Nano Satellite แบบ Rideshare ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียม 6 ดวงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ รวม 11 ประเทศทั่วโลก เข้าสู่วงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) แบบ Sun Synchronous Orbit (SSO) ที่ระยะสูงประมาณ 500 กิโลเมตร, Phase 2 และ Phase 3 เป็นการใช้งาน Payload ที่ได้ติดตั้งใน SCV003 เองจำนวน 3 ชนิด ในการทำการทดลองด้านอวกาศในส่วนของ In-orbit Demonstration of the Payloads Hosted Onboard และ Testing of D-Orbit’s Advanced Services ท้ายที่สุดใน Phase 4 เป็นขั้นตอน Decommissioning ในการจบขั้นตอนของการปฏิบัติภารกิจของอวกาศยาน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค.64 ขณะที่อวกาศยานดังกล่าวโคจรรอบโลกโดยมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ 500 กิโลเมตร ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการนำส่งดาวเทียมดวงแรกเข้าสู่วงโคจร อวกาศยาน SCV003 ได้ทำการถ่ายภาพโลก โดยใช้กล้องถ่ายภาพ D-Sense ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพแบบ Multi-Sensors ที่ติดตั้งกับระบบ ADCS ของอวกาศยานและส่งภาพถ่ายโลกมายังสถานีภาคพื้น เพื่อยืนยันสถานภาพว่าทุกระบบของอวกาศยานยังคงทำงานด้วยความเรียบร้อย และมีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจปล่อยดาวเทียมและภารกิจอื่น ๆ ตามแผนของภารกิจที่กำหนดไว้
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/20210719-4.jpg)
หลังจากนั้นประมาณ 1 วัน ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจหลักในการปล่อยดาวเทียมในชุดแรกจำนวน 2 ดวง คือ ดาวเทียม QMR-QWT ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาด 1 U และเป็นดาวเทียมดวงแรกของรัฐคูเวต ผลิตโดยบริษัท Orbital Space เพื่อใช้สำหรับการทดลองเขียนโปรแกรมเพื่ออัพโหลดให้กับดาวเทียม และดาวเทียม Ghalib ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาด 2 U สำหรับใช้ในการติดตามการอพยพย้ายถิ่นฐานของเหยี่ยว ของบริษัท Marshall Intech Technologies เป็นที่เรียบร้อย และในอีก 2 วัน ได้ทำการปล่อยดาวเทียมในชุดต่อไป คือ ดาวเทียม NAPA-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาด 6 U และเป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ของกองทัพอากาศ ที่ผลิตโดยบริษัท ISISpace สำหรับใช้สนับสนุนในภารกิจการบรรเทาสาธารณภัย และจะทำการปล่อยดาวเทียมต่อไปจนครบถ้วนก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองด้านอวกาศต่อไป ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายใน Phase Decommissioning โดยใช้อุปกรณ์พิเศษ Deployable De-orbit Sails (ADEO) ที่ผลิตโดยบริษัท High Performance Space Structure Systems GmbH สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเท่ากับดาวเทียม 1 U (ประมาณ 10 cm x 10 cm) ที่สามารถขยายตัวออกจนมีขนาดพื้นที่ประมาณ 3.6 m2 เพื่อสร้างแรงต้านอากาศในสภาวะของชั้นบรรยากาศชั้นสูง และจะทำให้อวกาศยานดังกล่าวตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว และเมื่ออวกาศยานเกิดการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจะทำให้เกิดการเผาไหม้ไปจนหมดสิ้น จึงนับว่าภารกิจนี้เป็นไปตามแนวคิด Clean Space กล่าวคือ ภารกิจที่จะไม่ทิ้งอวกาศยานไว้เป็นขยะอวกาศเมื่อหมดประโยชน์
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/20210719-5.jpg)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/20210719-6-1024x684.jpg)
ที่มา
– D-Orbit. SCV003WildRide. Retrieve from https://twitter.com/D_Orbit
แปลและเรียบเรียง : น.ท.รณชัย วุฒิวิทยารักษ์