![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/20210719-7.jpg)
จีนทำการบินทดสอบอวกาศยาน suborbital ลับครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบขนส่งในอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ suborbital ดังกล่าว ถูกนำส่งจากศูนย์ปล่อยดาวเทียม Jiuquan Satellite Launch Center และต่อมาได้ลงจอดที่สนามบินที่ห่างออกไป 800 กิโลเมตรที่ Alxa League ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ตามประกาศของ China Aerospace Science and Technology Corp. (CASC) ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ระดับความสูง ระยะเวลาการบิน หรือระบบขับเคลื่อน CASC ระบุเพียงแค่ว่า suborbital ใช้เทคโนโลยีการบินและอวกาศแบบบูรณาการและรูปแบบการบินขึ้นแนวดิ่งและลงแนวนอน (VTHL)
การทดสอบนี้เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบเมื่อเดือนกันยายน 2020 ในโครงการ “อวกาศยานทดลองที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้” อวกาศยานโคจรรอบโลก และร่อนลงอย่างปลอดภัย แม้ว่าจะยังไม่มีภาพถ่ายใดๆ ออกมา CASC ยังระบุว่า suborbital ที่ทดสอบเมื่อวันศุกร์ สามารถเป็นขั้นตอนแรกของระบบการขนส่งในอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ความหมายก็คือ การทดสอบ suborbital ทั้งสองจะถูกรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบการขนส่งทางอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
จีนระบุในปี 2560 ว่ามีเป้าหมายจะทำการทดสอบอวกาศยานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในปี 2563 หลังจากอวกาศยาน X-37B ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังปฏิบัติภารกิจที่หกในวงโคจร Mr.Chen Hongbo จาก China Academy of Launch Vehicle Technology (CALT) กล่าวกับ Science and Technology Daily เมื่อปี 2560 ว่า อวกาศยานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จะสามารถบรรทุกทั้งลูกเรือและบรรทุกสิ้นค้าได้ โดยที่บางลำจะมีลักษณะเป็นทั้งเครื่องบินและอวกาศยาน
Chen Hongbo กล่าวว่าเป้าหมายคือความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเหนือกว่าความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้บางส่วนแบบ Falcon 9 การพัฒนา suborbital นี้ มีแผนจะแล้วเสร็จภายในปี 2573 สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่า 20 ครั้ง โดยจะมุ่งไปปฏิบัติภารกิจที่ระดับความสูงของวงโคจรระหว่าง 300 ถึง 500 กิโลเมตร Concept คือ “รวดเร็ว เชื่อถือได้ และประหยัด” และตอบสนองความต้องการของน้ำหนักบรรทุกของทหารและพลเรือน และใช้ได้กับการท่องเที่ยวในอวกาศ
China Aerospace Science and Industry Corp. (CASIC) เป็นรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของจีน กำลังพัฒนาอวกาศยานของตนเองในชื่อ Tengyun การทดสอบ Tengyun แบบ two-stage-to-orbit จะแล้วเสร็จภายในปี 2025 โดย Tengyun นี้ จะเป็นแบบขึ้น-ลงแนวนอน (HTHL) บริษัทอื่นๆ ของจีนและ CASC ก็กำลังพัฒนาจรวดที่ใช้ซ้ำได้เช่นกัน โดยวางแผนการทดสอบแบบ “กระโดด” ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ผู้แปลและเรียบเรียง ร.อ.ทินวัฒน์ เมตตะธำรงค์