Delfi C3 เป็นดาวเทียมดวงแรกจาก TU Delft และเป็น nanosatellite ดวงแรกของเนเธอร์แลนด์ เป็นCubeSat แบบ 3 U โดยมีโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง และมีเซนเซอร์แสงอาทิตย์แบบไร้สายอัตโนมัติ ระบบพลังงานไฟฟ้า และวิทยุพร้อมช่องสัญญาณสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
โครงการ Delfi C3 เริ่มต้นในปี 2547 และดาวเทียมเปิดตัวในวันที่ 28 เมษายน 2551 จากอินเดีย Delfi C3 เป็นภารกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มรูปแบบและยังคงใช้งานได้จนถึงทุกวันนี้
โครงการ Delfi C3 เริ่มต้นในปี 2547 และดาวเทียมเปิดตัวในวันที่ 28 เมษายน 2551 จากอินเดีย Delfi C3 เป็นภารกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มรูปแบบและยังคงใช้งานได้จนถึงทุกวันนี้
ภาพรวมนี้จะแสดงลักษณะเด่นทางเทคนิคของ Delfi C3
ภารกิจทั่วไป Delfi C3 เป็น Cubsat ขนาด 3U มีน้ำหนัก 2.2 Kg และใช้พลังงาน 2.4 WATT ซึ่งมันสมบูรณ์แบบสำหรับภารกิจนี้
โดยมี Sun sensors แบบไร้สาย เป็นการแสดงข้อมูลและการสาธิตเทคโนโลยีจาก TNO เพื่อเปิดใช้งานเซ็นเซอร์แบบ plug and play สำหรับยานอวกาศในอนาคต
Solar Cells แบบ ฟิล์มบาง
แสดงถึงเทคโนโลยีของ Airbus DS Netherlands ซึ่งเป็น โซล่า เซลล์แบบบางเมื่อเทียบมวลต่อน้ำหนักแล้วได้พลังงานเพิ่มขึ้น 50%
ระบบสื่อสารผ่านสัญญาณวิทยุ
เป็นแบบ Full Duplex radio transceiver with 600 bit/s uplink on the UHF band และ 1200 bit/s downlink VHF
พลังงานไฟฟ้า
โดยสามารถผลิตพลังงานจาก Solar panels 4 แผง ซึ่งสามารถให้แรงดันไฟฟ้า 12 Volt. ให้กับระบบอย่างามบูรณ์
ระบบเสาอากาศ
เป็นกล่องเสาอากาศโมดูลาร์แบบใหม่จะเก็บเสาอากาศยาว 50 ซม. เป็นเส้นของตลับเมตรบรรจุภายใน และปล่อยเมื่ออยู่ในวงโคจรอย่างปลอดภัย
ชุดคำสั่งและดาต้าสำหรับควบคุม
บอร์ดควบคุมประมวลผลข้อมูลทั้งหมดของแต่ละระบบและส่งtelemetry Packages โดยสัญญาณวิทยุและมี I2C เป็นดาต้าบัส
การควบคุมท่าทาง
ท่าทางจะถูกควบคุมโดยใช้แท่งแม่เหล็กฮิสเทรีซิสและแม่เหล็กถาวร ทำให้มั่นใจได้ว่าอัตราการสั่นไหวช้า ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานและน้ำหนัก
Delfi‑C3 มี downlink ในส่วนของดาวเทียมสมัครเล่นของย่านความถี่ VHF และใช้ซอฟต์แวร์ถอดรหัส Telemetry มีให้สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วม ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถถอดรหัสและแสดงการวัดและส่งข้อมูลทางไกลแบบเรียลไทม์และส่งต่อข้อมูลนี้ไปยังเซิร์ฟเวอร์การส่งข้อมูลทางไกล ทีมเดลฟีขอเชิญนักวิทยุสมัครเล่นที่สนใจเข้าร่วมเครือข่ายภาคพื้นดินแบบกระจายนี้
ที่มา : https://www.tudelft.nl/lr/delfi-space/delfi-c3
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกทินวัฒน์ เมตตะธำรงค์