![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/202107081-1.png)
ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) จะเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มความสามารถในการนำทางอวกาศยานที่เดินทาง ไปยังบริเวณสำคัญ ๆ ของระบบสุริยะจักรวาลที่อยู่ห่างจากโลกออกไป โดยปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือการสื่อสารจากภาคพื้นโลกไปยังอวกาศยานนั้นจะไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มนุษย์ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวกาศยานได้อย่างทันท่วงที ซึ่งความซับซ้อนของภารกิจเหล่านี้จะถูกแก้ไขด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ เพราะการควบคุมอวกาศยานจากสถานีภาคพื้นดินที่อยู่ระยะไกลนั้นเป็นเรื่องยากและมีข้อจำกัด เนื่องจากความล่าช้าในการส่งสัญญาณหรือคำสั่ง ดังนั้นคอมพิวเตอร์คำสั่ง AI ซึ่งบนบอร์ดจึงต้องรับหน้าที่ในการจัดการปัญหาดังกล่าว
ไฮน์ (Hein) และ บักซ์เตอร์ (Baxter) ซึ่งเป็นนักวิจัยเกี่ยวกับระบบ AI สำหรับภารกิจด้านอวกาศ ได้ยกตัวอย่างการคำนวณการนำทางที่ซับซ้อน ที่สามารถทำได้แบบเรียลไทม์เพื่อให้ตอบสนองต่อเงื่อนไขที่ยากต่อการคาดเดา เช่น การสำรวจดาว Alpha Centauri ซึ่งเป็นดาวที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเรามากที่สุด เนื่องจากมีลักษณะของของระบบดาวคู่ จึงมีลำดับการแทรกของวงโคจรที่ทับซ้อน ทำให้ระบบคำนวณการนำทางด้วย AI นั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
การสอนอวกาศยานให้ทำการลงจอดแบบควบคุมโดยไม่ต้องมีมนุษย์ป้อนข้อมูล ถือเป็นก้าวที่สำคัญในสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ เพื่อส่งอวกาศยานสำรวจไปสำรวจโลกที่ห่างไกล เช่น ดาวพฤหัสบดี ซึ่งความล่าช้าระหว่างการสื่อสารของโลกและอวกาศยานนั้นมากเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถควบคุมการลงจอดได้ อย่างไรก็ตามระบบการลงจอดหรือระบบเทียบสถานีอัตโนมัติ ระหว่างอวกาศยานขนาดเล็กกับสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นต้น
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/202107081-2-1-835x1024.png)
ในอนาคตอวกาศยานสำรวจจะต้องมีศักยภาพมากกว่าการนำทางและการขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับการปฏิบัติภารกิจการสำรวจอวกาศในอนาคต ดังนั้น การสำรวจ การสังเกตการณ์ การเก็บตัวอย่างทรัพยากร ตลอดจนการปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการมาถึงและการอยู่อาศัยของมนุษย์ จึงถือเป็นหน้าที่ของระบบ AI ที่จะต้องมีเพิ่มขึ้นมาในอนาคต
ระบบ AI จะใช้เซนเซอร์อัจฉริยะในการตรวจจับสภาพแวดล้อม จากนั้นจึงทำการประมวลผล และ กำหนดรูปแบบการจัดการสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย เช่น กระบวนการแก้ไขปัญหาความล้มเหลวในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ของอวกาศยาน เป็นต้น นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่า ระบบ Machine Learning จะทำให้ AI มีความสามารถในการระบุเศษซากในอวกาศที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวอวกาศยาน และสามารถคาดการณ์โอกาสการชน ตลอดจนสั่งการให้อวกาศยานสามารถหลบหลีกเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ที่มา : https://www.linkedin.com/pulse/artificial-intelligence-space-exploration-andy-townsend/
แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ยุทธนา สุพรรณกลาง