โครงการ Delfi เป็นการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กมากที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (TU Delft) โครงการเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 2547 และจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา โครงการ Delfi มีวัตถุประสงค์ภารกิจทั่วไป 3 ประการ :
เพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมอวกาศ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรม ทักษะของทีม การเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสาร และความเข้าใจทั่วไปในทุกแง่มุมของโครงการอวกาศจริง
เพื่อการสาธิตและทดลองเทคโนโลยีด้านอวกาศของนวัตกรรมดาวเทียมขนาดเล็กที่เกิดขึ้นภายใน TU Delft และพันธมิตรภายนอกในด้านอวกาศ
เพื่อการพัฒนาระบบสื่อสารของดามเทียมขนาดเล็ก เพื่อเปิดการใช้งานแอปพลิเคชันใหม่ ของดาวเทียมขนาดเล็กมากๆ ซึ่งยังไม่สามารถทำได้ในแง่ของเทคโนโลยีหรือความคุ้มค่าด้วยเทคโนโลยีล้ำอันสมัย โครงการ Delfi ประกอบไปด้วยดาวเทียม Cubesat ดังนี้
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/1-6.jpg)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/2.jpg)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/3-2.png)
โครงการ Delfi เริ่ม ในปี 2547 CubeSats (ดาวเทียมที่มีขนาดตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์ หน่วยขึ้นไปหรือ ประมาณ 10 ซม.) ได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มมหาวิทยาลัยที่คัดเลือกมาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นหลัก ด้วย Delfi‑C3 โดยนักพัฒนากลุ่มนี้เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ CubeSats สำหรับภาคอวกาศระดับมืออาชีพโดยสาธิตเทคโนโลยีอวกาศของพวกเขาบนแพลตฟอร์มที่คุ้มค่า ในช่วงหลายปีต่อจากนี้ บริษัทสตาร์ทอัพ CubeSat ได้ปรากฏตัวขึ้นทั่วโลก (รวมถึง Delfi‑C3 ที่แยกตัวออกจาก ISIS BV) และจำนวนมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่น ๆ ที่กำลังพัฒนา CubeSats เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวน CubeSat ที่เปิดตัวเป็นไปตามแนวโน้มที่คล้ายคลึงกัน หนึ่งในดาวเทียมเหล่านั้นคือ Delfi‑3Xt ซึ่งเคยใช้เพื่อสาธิตเทคโนโลยี CubeSat อันล้ำสมัยในปี 2013
ในขณะเดียวกันที่ TU Delft และสถานที่อื่นๆ ทั่วโลก ได้รับการพัฒนาสำหรับการใช้งานของกลุ่มดาว CubeSats สำหรับการสังเกตการณ์โลก กลุ่มดาวเทียมเหล่านี้ได้กลายเป็นความจริง และเทคโนโลยี CubeSat ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตั้งแต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาด้วยความช่วยเหลือจากการร่วมทุนที่สำคัญ CubeSat ได้เติบโตขึ้นเป็นธุรกิจที่จริงจังพร้อมความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก TU delft
ที่มา https://www.tudelft.nl/en/ae/delfi-space/delfi-program
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกทินวัฒน์ เมตตะธำรงค์