![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/20210603-2.jpg)
มีการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่างมากมาย ในสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ Machine Learning มีการใช้ประโยชน์เพื่อทำให้การสื่อสารผ่านดาวเทียมง่ายขึ้น ช่วยมนุษย์ดึงมูลค่าข้อมูลสูงสุดจากภาพถ่าย ช่วยนำทางสู่ยุคใหม่ของการสำรวจอวกาศ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบนอวกาศ AI มีบทบาทสำคัญในการวิจัยโลกของเรา ระบบสุริยะจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเป็นไปได้เพราะระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เรามาพิจารณาการนำ AI ไปใช้งานเพื่อการสำรวจอวกาศกันครับ
ข้อดีของ AI
๑. AI จะตัดสินใจจากบันทึกข้อมูลก่อนหน้าด้วยอัลกอริธึมแก้ปัญหา ความซับซ้อน ลดโอกาสผิดพลาด ประหยัดเวลา ได้มากกว่ามนุษย์
๒. AI ไม่เหนื่อยหล้า เหน็ดเหนื่อย มีความเสียสละ เอาชนะข้อจำกัดของมนุษย์ ทำงานหนัก ลำบากได้เป็นพิเศษ มีความรับผิดชอบ
๓. ความช่วยเหลือทางดิจิทัล สิ่งที่ดีที่สุดของ AI คือคุณสมบัติการเรียนรู้แก้ไขตัวเองอัตโนมัติปรับตัวเข้ากับปัญหาข้อขัดข้อง ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมได้ไว
๔. AI เป็นผู้ตัดสินใจที่มีเหตุผลถูกต้องเพราะระบบทำงานด้วยตรรกะ มีสมาธิ ไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนมนุษย์ ทำให้มีประสิทธิภาพสูงในการทำงานบนอวกาศ
๕. AI ทำงานซ้ำซากจำเจได้ดี คิดได้เร็วกว่ามนุษย์ ทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน
๖. AI สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่เสี่ยง การทำงานในพื้นที่อันตราย การทำงานที่เกินขีดจำกัดมนุษย์ในจุดที่มนุษย์ไปไม่ถึง และยังช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น
ข้อเสียของ AI
๑. ค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมากเนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่ซับซ้อนและจะต้องใช้งานได้ด้วยการส่งขึ้นไปบนอวกาศได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถซ่อมบำรุงภายหลังได้ ทนต่อสภาพแวดล้อมโหดร้ายบนอวกาศ
จะพังเสียหายจากการขนส่งจากโลกไปก็ไม่ได้ เพราะต้นทุนการจัดซื้อจัดสร้างสูงมาก
๒. ไม่ว่า AI จะฉลาดถึงเพียงไหนแต่ก็ยังเป็นเครื่องจักร ถึงจะมีเหตุผลแต่ก็ไร้อารมณ์ สามัญสำนึก
การพิจารณา ตริตรอง ผิด ชอบ ชั่ว ดี คุณค่าทางศีลธรรม AI ไม่รู้ว่าสิ่งใดถูกหลักจริยธรรมสิ่งใดถูกกฎหมาย
หากพบสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยจึงไม่สามารถพิจารณา ยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจได้อย่างมนุษย์
๓. ไม่มีการปรับปรุงด้วยประสบการณ์ ปัญญาประดิษฐ์ไม่มีความรู้สึกและด้วยเหตุนี้จึงไม่มีอะไร
ที่เหมือนกับการทำงานด้วยใจจริงหรือด้วยความรักอย่างเต็มที่ ไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือสามัคคีหรือสัมผัสของมนุษย์ AI จะล้มเหลวในการแยกแยะระหว่างบุคคลที่ขยันขันแข็งและบุคคลที่ไม่มีประสิทธิภาพ
๔. AI ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ได้เหมือนมนุษย์ เพราะความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นมาจากความคิด
นอกกรอบ ได้จากสิ่งที่สัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การคิด เป็นพลังสมองของมนุษย์ ซึ่งถึงแม้ว่าในอนาคต AI
จะเติบโตได้รวดเร็วแค่ไหน ก็ไม่สามารถถ่ายทอดความสามารถหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณได้เหมือนมนุษย์หรือไม่สามารถทำซ้ำได้
๕. การว่างงาน ปัญหานี้เป็นความเสี่ยงมากที่สุด มีผลกระทบรุนแรงมากที่สุด อันนี้มีความเสี่ยงมากที่สุดและอาจมีผลรุนแรง ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้เงินทุนสูง ความต้องการที่เน้นมนุษย์จำนวนมากลดลง ในบางอุตสาหกรรม
หากในอนาคตมนุษย์ไม่เพิ่มทักษะการทำงาน ในเวลาไม่นานเราจะเห็นได้ว่าแรงงานจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร
ที่มา :
– https://www.online-sciences.com/robotics/applications-of-artificial-intelligence-in-space-industry-nasa-artificial-intelligence/
– https://data-flair.training/blogs/artificial-intelligence-advantages-disadvantages/
– https://www.itpro.co.uk/machine-learning/31708/what-are-the-pros-and-cons-of-ai
– https://studentsxstudents.com/ai-as-the-future-of-space-exploration-8f81774fee74
– https://www.bartleby.com/essay/The-Pros-And-Cons-Of-Space-Exploration-FK25DZLKLA6
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง