![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/20210603-3.jpg)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนสามารถส่งดาวเทียม Fengyun-4B ซึ่งเป็นดาวเทียมสำหรับการตรวจสอบสภาพอากาศขึ้นสู่ชั้นวงโคจรที่จะใช้เป็นชั้นที่ใช้ส่งดาวเทียมสู่วงโคจร Geosynchronous (Geosynchronous Transfer Orbit) ด้วยความสำเร็จเมื่อวันพุธที่ ๒ มิ.ย.๖๔ โดยจรวดแบบ Long March 3B
ซึ่งดาวเทียมถูกยิงส่งจากฐานปล่อยจรวด ณ สถานีปล่อยจรวดและดาวเทียม Xichang ที่อยู่ทางด้านตะวันตก
เฉียงใต้ของจีนในเวลาเที่ยงคืน ๑๗ นาที ตามเวลาของประเทศจีน
การส่งจรวดถูกประกาศว่าเป็นการส่งที่ประสบความสำเร็จโดย Deng Hongqin ผู้อำนวยการสถานีปล่อยจรวดและดาวเทียม Xichang ภายใน ๑ ชั่วโมง หลังจรวดได้ถูกส่งออกไป การประกาศต่อสาธารณชนครั้งแรก
ประกาศโดยบริษัท China Aerospace Science and Technology ซึ่งเป็นบริษัทผู้จัดการดำเนินการส่งดาวเทียมครั้งนี้
ดาวเทียม Fengyun-4B มีน้ำหนัก ๔,๕๐๐ กิโลกรัม จะถูกใช้งานในภารกิจการวิเคราะห์สภาพอากาศ และการพยากรณ์อากาศและสภาวะแวดล้อมตลอดจนการเฝ้าตรวจสภาวะภัยพิบัติ โดยในส่วนของ Payload ของดาวเทียมจะประกอบด้วยอุปกรณ์การวัดการแทรกของคลื่นเสียงอินฟราเรดในชั้นวงโคจร Geostationary, อุปกรณ์ภาพการแผ่รังสี, ชุดการตรวจสภาวะแวดล้อมทางอวกาศของอนุภาคที่มีพลังงานระดังต่ำ กลาง และสูง, กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการเฝ้าตรวจคลื่นรังสี X-ray จนถึงคลื่น Ultraviolet ในระดับสูง, อุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงที่ชั้นวงโคจร Geostationary และอุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อทำแผนของบริเวณที่เกิดฟ้าผ่า ซึ่งชุดอุปกรณ์แบบใหม่ที่บรรจุในดาวเทียมจะเป็นการพัฒนาระบบการเฝ้าตรวจชั้นบรรยากาศด้วยคลื่นความถี่สูง และขีดความสามารถในการเฝ้าตรวจสภาพอากาศไม่ปกติที่เกิดขึ้นในระดับที่มีความรุนแรงต่ำและระยะเวลาที่สั้นได้ดีมายิ่งขึ้น
ดาวเทียม Fengyun-4B จะปฏิบัติการอยู่ที่ชั้นวงโคจร geostationary ที่ความสูง ๓๕,๗๘๖ กิโลเมตรเหนือพื้นเป็นเวลา ๗ ปี ตามที่องค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน (China Meteorological Administration: CMA) ซึ่งเป็นดาวเทียมที่พัฒนามาจากดาวเทียม Fengyun-4A ที่ถูกส่งออกไปในอวกาศเมื่อปี ๒๕๕๙ ที่มีอายุการใช้งานเพียง ๕ ปี
ที่มา : https://spacenews.com/china-launches-fengyun-4b-meteorological-satellite/
เรียบเรียงโดย : น.อ.เพชรเดช เพชรช่วย